Domo-kun Staring

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


เครดิตยูเนียน

เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทยจัดตั้งขึ้นในรูปแบบของสหกรณ์ ที่เรียกว่า สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ประเทศไทยได้กำหนดให้เครดิตยูเนี่ยนเป็นสหกรณ์ประเภทที่ 7 และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ถือเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมาย 
เครดิตยูเนี่ยน สมาชิกจะต้องสะสมค่าหุ้น ๆ ละ 10 บาท เป็นจำนวนกี่หุ้นขึ้นอยู่กับที่ได้ตกลงกันไว้เมื่อตอนสมัคร และจะต้องสะสมหุ้นสม่ำเสมอทุกเดือน และการดำเนินกิจการจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับกิจกรรมของธนาคาร ได้แก่รับฝากเงินจากเงินสมาชิก การให้สินเชื่อแก่สมาชิก รายได้หลักของเครดิตยูเนี่ยนจะเกิดจากรายได้จากดอกเบี้ยรับ และผลตอบแทนจากการนำเงินไปลงทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากจะถูกจัดสรรในรูปของทุนสำรองของเครดิตยูเนี่ยน ทุนสวัสดิการต่างๆ เพื่อให้บริการแก่สมาชิก เงินปันผลสำหรับการถือหุ้นของสมาชิก เงินเฉลี่ยคืนจากการใช้บริการเงินกู้ของสมาชิก เป็นต้น
รูปแบบของเครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย
- สหกรณ์ออมทรัพย์
- สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ความแตกต่างของทั้ง 2 แบบคือสหกรณ์ออมทรัพย์มักถูกจัดตั้งขึ้นในหน่วยงาน โดยมากสมาชิกจะมีเงินเดือนประจำและถูกหักเป็นเปอร์เซ็นต์จากเงินเดือนเพื่อสะสมเป็นค่าหุ้นทุกๆ เดือน ในขณะที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มักถูกจัดตั้งตามแหล่งชุมชน หมู่บ้าน กลุ่มที่ทำกิจกรรมร่วมกัน หรือกลุ่มสมาคมเดียวกัน เช่น กลุ่มเอ็นจีโอ (NGO) กลุ่มผู้พิการตาบอด กลุ่มผู้ทำธุรกิจขายตรง เป็นต้น
บุคคลทั่วไป ที่อยู่ในวงศ์สัมพันธ์เดียวกัน สามารถรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน และสามารถขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยนได้ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542